วัฒนธรรมประเทศอินโดนีเชีย

ประชากรอินโดนีเซียประกอบ ด้วยหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธ์ุ แต่ละเผ่าพันธ์ุต่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรม และ ลักษณะทางสังคมของตนสืบทอดกันมาจากการที่สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมาย และมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากร ติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง จึงปรากฏลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาที่ใช้ผิดแผกแตกต่างกันไปการแบ่งกลุ่มชนตามขนบธรรมเนียมประเพณี และพื้นที่ตั้ง สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

– กลุ่มแรก เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา และบาหลี ผู้คนที่อยู่ ในแถบนี้จะยึดมั่นอยู่ในแนวทางของศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม เน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจและสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปะอย่าง มากมาย โดยเฉพาะนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประชากรจะประพฤติตามหลักจริยธรรมมีการเคารพต่อบุคคลตามฐานะของ บุคคลนั้นๆ

– กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะ ต่างๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทางวัฒนธรรมตาม หลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจของสังคมอินโดนีเซีย ยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทางศาสนา และกฎหมาย

– กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมาก อาศัยตามบริเวณเทือก เขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และการเพาะปลูก รัฐบาลอินโดนีเซียได้เข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนกลุ่มนี้แล้ว

ในประเทศอินโดนีเซีย มีการกำหนดกฎหมายประเพณีในสังคมตามความเชื่อในศาสนา ซึ่งจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และสืบทอดกันมานานแล้ว มีสาระที่สำคัญคือ ความผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเมืองต่อสังคมที่ตนอยู่ โดยยึดหลักการปฏิบัติที่เรียกเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า “โกตองโรยอง” คือการ ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานต่างๆ เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินร่วมกันภายใต้ข้อตกลงและ ข้อแม้พิเศษ

วัฒนธรรมประเพณีของชาวอินโดนีเซีย แตกต่างไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของประชากรใน แต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น

SONY DSC

วายัง กูลิต (Wayang Kulit) :เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย และถือเป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการ แสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายชนิดไว้ด้วยกัน โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ นิยมใช้วงดนตรี พื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง

การแต่งกาย

indonesia_dress

หญิง :สวมเสื้อ “คะบาย่า” เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับผ้าโสร่งที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรยกว่า “ปาเต๊ะ” หรือ “บาติก” โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสวมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล

ชาย :สวมเสื้อคอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลงดลายเข้ากับหมวกสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญ จะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเกาะ

อาหาร

indonesia_food.jpgกาโด กาโด (Gado Gado) :เป็นอาหารที่ประกอบด้วย ผักและธัญพืช ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ไข่ต้ม ข้าวเกรียบกุ้ง รบประทานคู่กับซ๊อสถั่วคล้ายกับซ๊อสสะเต๊ะ (คล้ายกับสลัดแขกของไทย)

ดอกไม้ประจำชาติ 

indonesia_flower.jpg

ดอกไม้ประจำชาิติ : ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)